กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ

กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ

เหตุผลที่ทุกคนควร Squat

เหตุผลที่ทุกคนควร Squat

ผู้สูงอายุก็ทำได้เช่นกันนะครับ แต่เพื่อความปลอดภัย ช่วงแรกอาจใช้มือจับกับเก้าอี้หรือสิ่งของที่มั่นคงเพื่อป้องกันล้ม และทำแบบ patial squat ก่อน คือ ย่อลงไม่ต้องเยอะมาก เอาเท่าที่ไหวก่อน ทำ 10-20 ครั้ง 2-3 ชุด พักระหว่างชุดประมาณ 30 วินาที – 1นาที 3 วัน ต่อสัปดาห์

หลัก 5 อ. ดูแลผู้สูงวัยห่างไกลโควิด-19

หลัก 5 อ. ดูแลผู้สูงวัยห่างไกลโควิด-19

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การเก็บตัวอยู่บ้านเป็นวิธีที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เราในฐานะลูกหลานสามารถดูแลและหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำได้

Functional Ambulation Category (FAC)

Eldeptclinic-Functional Ambulation Category

Functional Ambulation Category (FAC)
เป็นแบบประเมินความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โดยพิจารณาจากระดับความช่วยเหลือซึ่งแบ่งเป็น 6 ระดับดังนี้

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

Eldeptclinic-Parkinson's disease

“โรคพาร์กินสัน” (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (neurodegenerative disease) พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองที่ทำหน้าที่สร้างสารสื่อประสาทชื่อโดปามีน (Dopamine) ทำให้การสร้างสารสื่อประสาทลดลง ผู้ป่วยพาร์กินสันจึงมีอาการดังนี้คือ สั่นขณะอยู่เฉยๆ (Resting tremor) การเคลื่อนไหวร่างกายช้า (Bradykinesia) กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Rigidity) และมีปัญหาการทรงตัว (Postural instability) ทำให้ยืนเดินลำบาก

ภาวะกระดูกสันหลังทรุดในผู้สูงอายุ (Vertebral compression fracture)

Vertebral compression fracture

กระดูกสันหลังทรุดในผู้สูงอายุเกิดจากความแข็งแรงของกระดูกที่ลดลง มักพบในผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) การทรุดของกระดูกสันหลังอาจเกิดขึ้นหลังจากนั่งรถตกหลุม นั่งกระแทกลงบนเก้าอี้ หรือก้มยกของ ความรุนแรงมากขึ้นเมื่อล้มก้นกระแทกพื้น การทรุดตัวมักพบบริเวณกระดูกสันหลังส่วนอกต่อกับส่วนเอว (lower thoracic) และกระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณหลังตรงตำแหน่งที่มีการทรุดตัว อาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการขยับ นั่ง ยืนและเดิน การวินิจฉัยด้วยภาพ x-ray กระดูกสันหลังจะช่วยให้เห็นความรุนแรงและระดับกระดูกสันหลังที่มีการทรุดตัว หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษากระดูกที่ทรุดอาจกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชา ขาอ่อนแรง หรืออาจทำให้ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ (Normal pressure Hydrocephalus)

Normal pressure Hydrocephalus

มักเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมีมากเกินไป ทำให้เกิดการกดทับและทำลายเนื้อสมอง เป็นเหตุให้การทำงานของสมองผิดปกติ โดยจะมีกลุ่มอาการดังต่อไปนี้

“Backward walking test”

Backward walking test

ประเมินความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุด้วยความเร็วในการเดินถอยหลัง

หกล้มถือเป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ หลายครั้งที่การหกล้มเกิดขึ้นขณะหมุนตัว เปลี่ยนทิศทาง หรือก้าวถอยหลังเพื่อลงนั่งเก้าอี้ การศึกษาของ Fritz และคณะ ในปี 2013 พบว่า ความเร็วที่ใช้ในการเดินถอยหลัง จะบ่งบอกถึงความสามารถในการเคลื่อนไหว (functional mobility) และยังสามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้มของผู้สูงอายุได้

กิจกรรมพิเศษวันแม่แห่งชาติ พ.ศ.2562

รอยยิ้มคุณยาย

เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2562
เอลดี้คลินิกกายภาพบำบัด
จัดกิจกรรม “ชวนแม่มาเอลดี้”
ลูกๆ สามารถพาคุณแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้ารับการประเมินความเสี่ยงในการลื่นตกหกล้ม และคำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายจากนักกายภาพบำบัด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

“อยากเดินได้ ต้องฝึกเดิน”

walk practice

เป้าหมายที่สำคัญสุดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ สามารถยืนเดินได้ด้วยตนเอง การยืนเดินได้จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นฟูขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ได้รับความเสียหาย

การฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Rehabilitation)

Stroke Rehabilitation

ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดสมองแตก ตีบ หรือตัน (Stroke) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการฟื้นฟูร่างกายในช่วงเวลาที่เหมาะสม การฟื้นฟูด้วยกายภาพบำบัด ควรเริ่มทันทีเมื่ออาการทางระบบประสาทและสัญญาณชีพคงที่ ระบบประสาทจะมีการฟื้นตัวได้เอง (Spontaneous recovery) หลังจากที่สมองได้รับความเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 3 เดือนแรก ถ้าหลัง 6 เดือนแล้ว การฟื้นตัวจะช้าลง ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อฝึกฝนให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง ในช่วง 3-6 เดือนแรก จะทำให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการได้เร็ว

Scroll to Top