กายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

กายภาพบำบัดที่เกี่ยวข้องกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

การใช้หมอนรองบริเวณหลังช่วงเอวเวลาขับรถที่ถูกต้อง

การใช้หมอนรองบริเวณหลังช่วงเอวเวลาขับรถที่ถูกต้อง

เมื่อวานมีคนสอบถามมาว่า การใช้หมอนรองบริเวณหลังช่วงเอวเวลาขับรถถูกต้องหรือไม่ คำตอบคือถูกก็ได้ไม่ถูกก็ได้ ต้องดูก่อนว่าหลังเป็นยังไงเราจะตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดเจนเมื่อได้เห็น โครงสร้างหลังของผู้ขับ ยกตัวอย่างเช่น

“อยากเดินได้ ต้องฝึกเดิน”

Body weight support

ที่เอลดี้คลินิกกายภาพบำบัด​ เรามีอุปกรณ์ช่วยพยุงน้ำหนักตัวขณะฝึกเดิน (Body weight support) สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่กำลังกล้ามเนื้อขายังไม่แข็งแรงมากพอ

การฝึกเดินบนลู่วิ่งโดยมีเครื่องช่วยพยุงน้ำหนัก

Treadmill​ training​ with body weight support

การสูญเสียความสามารถในการเดินเป็นปัญหาที่เรามักพบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง​ การฝึกเดินบนลู่วิ่งโดยมีเครื่องช่วยพยุงน้ำหนักตัวไว้​ ( Treadmill​ training​ with body weight support)​ เป็นวิธีหนึ่งทางกายภาพบำบัดที่ช่วยฟื้นฟูความสามารถในการเดินให้กับผู้ป่วยได้​

กายภาพบำบัดสำหรับผู้มีปัญหาทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

กายภาพบำบัดสำหรับผู้มีปัญหาทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

หลายคนคงเคยมีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคอ สะบัก หลัง เข่า สะโพก ข้อมือ หรือเท้า อาการเจ็บปวดอาจเป็นแบบทันทีทันใด (acute) หรือแบบเรื้อรัง (chronic) ซึ่งแต่ละปัญหามีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป

Functional Ambulation Category (FAC)

Eldeptclinic-Functional Ambulation Category

Functional Ambulation Category (FAC)
เป็นแบบประเมินความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โดยพิจารณาจากระดับความช่วยเหลือซึ่งแบ่งเป็น 6 ระดับดังนี้

ภาวะกระดูกสันหลังทรุดในผู้สูงอายุ (Vertebral compression fracture)

Vertebral compression fracture

กระดูกสันหลังทรุดในผู้สูงอายุเกิดจากความแข็งแรงของกระดูกที่ลดลง มักพบในผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) การทรุดของกระดูกสันหลังอาจเกิดขึ้นหลังจากนั่งรถตกหลุม นั่งกระแทกลงบนเก้าอี้ หรือก้มยกของ ความรุนแรงมากขึ้นเมื่อล้มก้นกระแทกพื้น การทรุดตัวมักพบบริเวณกระดูกสันหลังส่วนอกต่อกับส่วนเอว (lower thoracic) และกระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณหลังตรงตำแหน่งที่มีการทรุดตัว อาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการขยับ นั่ง ยืนและเดิน การวินิจฉัยด้วยภาพ x-ray กระดูกสันหลังจะช่วยให้เห็นความรุนแรงและระดับกระดูกสันหลังที่มีการทรุดตัว หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษากระดูกที่ทรุดอาจกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชา ขาอ่อนแรง หรืออาจทำให้ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ (Normal pressure Hydrocephalus)

Normal pressure Hydrocephalus

มักเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมีมากเกินไป ทำให้เกิดการกดทับและทำลายเนื้อสมอง เป็นเหตุให้การทำงานของสมองผิดปกติ โดยจะมีกลุ่มอาการดังต่อไปนี้

ความเสี่ยงต่อการหกล้ม

Five Times Sit-to-Stand Test

คุณมีความเสี่ยงต่อการหกล้มหรือไม่?

หกล้มเป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ การหกล้มเกิดขึ้นในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การลุกยืนหรือการเดิน โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นตามอายุ วันนี้เอลดี้คลินิกกายภาพบำบัดนำตัวอย่างการทดสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้วางแผนและประเมินผลการรักษาให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการทรงตัวได้ 

อยากรู้ว่าผู้สูงอายุที่บ้านมีความเสี่ยงต่อการหกล้มหรือไม่? ไปดูการทดสอบพร้อมๆ กัน

“Colles’ fracture” ข้อมือหัก รักษา ฟื้นฟู

Colles' fracture

หกล้มเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ เรามักพบว่าผู้สูงอายุที่เอามือยันพื้นเวลาหกล้ม กระดูกปลายแขนตรงบริเวณเหนือข้อมือ (distal end of radius) จะหัก เนื่องจากภาวะมวลกระดูกที่ลดลง หรือมีภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้หญิง

การวินิจฉัยด้วยภาพ x-ray จะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจได้ว่าจะต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

การบำบัดด้วยคลื่นกระแทก (shockwave)

shockwave

การบำบัดด้วยคลื่นกระแทก (shockwave) คืออะไร?

การบำบัดด้วยคลื่นกระแทก (shockwave) คือ คลื่นกระแทกจากคลื่นเสียงเพื่อนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง กลไกจะเป็นการ ใช้พลังงานจากคลื่นกระแทกกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ (Re-injury) ในบริเวณที่อักเสบเรื้อรัง เพื่อตัดวงจรอักเสบเรื้อรังและกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่งสารลดปวดทำให้บริเวณที่ปวดดีขึ้นได้

Scroll to Top