กายภาพบำบัดทางระบบประสาท

กายภาพบำบัดที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท

กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยทางระบบประสาท

กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยทางระบบประสาท

การทำกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) บาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injury) ผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และผู้สูงอายุ ให้สามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

Functional Ambulation Category (FAC)

Eldeptclinic-Functional Ambulation Category

Functional Ambulation Category (FAC)
เป็นแบบประเมินความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โดยพิจารณาจากระดับความช่วยเหลือซึ่งแบ่งเป็น 6 ระดับดังนี้

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

Eldeptclinic-Parkinson's disease

“โรคพาร์กินสัน” (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (neurodegenerative disease) พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองที่ทำหน้าที่สร้างสารสื่อประสาทชื่อโดปามีน (Dopamine) ทำให้การสร้างสารสื่อประสาทลดลง ผู้ป่วยพาร์กินสันจึงมีอาการดังนี้คือ สั่นขณะอยู่เฉยๆ (Resting tremor) การเคลื่อนไหวร่างกายช้า (Bradykinesia) กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Rigidity) และมีปัญหาการทรงตัว (Postural instability) ทำให้ยืนเดินลำบาก

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ (Normal pressure Hydrocephalus)

Normal pressure Hydrocephalus

มักเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมีมากเกินไป ทำให้เกิดการกดทับและทำลายเนื้อสมอง เป็นเหตุให้การทำงานของสมองผิดปกติ โดยจะมีกลุ่มอาการดังต่อไปนี้

การฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง Spinal cord injury rehabilitation

การฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง

ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injury) จะสูญเสียการทำงานของระบบประสาทสั่งการ ระบบประสาทรับความรู้สึก และระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเกิดอัมพาตครึ่งท่อนล่าง

“อยากเดินได้ ต้องฝึกเดิน”

walk practice

เป้าหมายที่สำคัญสุดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ สามารถยืนเดินได้ด้วยตนเอง การยืนเดินได้จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นฟูขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ได้รับความเสียหาย

การฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Rehabilitation)

Stroke Rehabilitation

ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดสมองแตก ตีบ หรือตัน (Stroke) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการฟื้นฟูร่างกายในช่วงเวลาที่เหมาะสม การฟื้นฟูด้วยกายภาพบำบัด ควรเริ่มทันทีเมื่ออาการทางระบบประสาทและสัญญาณชีพคงที่ ระบบประสาทจะมีการฟื้นตัวได้เอง (Spontaneous recovery) หลังจากที่สมองได้รับความเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 3 เดือนแรก ถ้าหลัง 6 เดือนแล้ว การฟื้นตัวจะช้าลง ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อฝึกฝนให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง ในช่วง 3-6 เดือนแรก จะทำให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการได้เร็ว

เจ้าชายนิทรา…ความจริง vs ความหวัง

vegetative state

อาการเจ้าชายนิทราหรือทางการแพทย์เรียกว่าสภาพผัก (vegetative state) คือ ภาวะที่สมองใหญ่ของผู้ป่วยได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ส่งผลให้สูญเสียการรับรู้และเข้าใจ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ต้องได้รับการดูแลจากผู้อื่น แต่ยังตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้บางส่วนเช่น ลืมตา หลับตา ส่งเสียงคราง หากอยู่ในสภาพนี้นานกว่า 1 เดือน จะเรียกว่า persistent vegetative state ถ้ามากกว่า 12 เดือนเรียกว่า permanent vegetative state

ผู้สูงอายุเดินช้าเป็นเรื่องปกติจริงหรือ?

์Normal gait speeds

ผู้สูงอายุเดินช้ากว่าวัยรุ่นคงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเดินช้ากว่าคนช่วงอายุเดียวกันที่มีสุขภาพดี ทำให้เราสงสัยได้ว่า อาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นเช่น การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัวที่ไม่ดี การรับรู้ของข้อต่อลดลง หรือความกลัวในการหกล้ม เป็นต้น การเดินช้าลงในลักษณะนี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินเพื่อหาสาเหตุ และวิธีการฟื้นฟูเพื่อแก้ไขปัญหา 

แล้วเราวัดความเร็วในการเดินได้อย่างไร?

Wii-habilitation ฟื้นฟูการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

Wii-habilitation

อาการแขน-ขาอ่อนแรงครึ่งซีกซึ่งเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ / อัมพาต สูญเสียการทรงตัวและมีปัญหาด้านการเดิน จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกมากขึ้น เช่น การฝึกทรงตัวโดยใช้เกมส์ Wii-based balance exercise ให้ผู้ป่วยฝึกการยืนทรงตัวโดยถ่ายน้ำหนักซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง ในขณะยืนบน balance board

Scroll to Top